วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิทยาศาสตร์(ประวัติไฟฟ้า)

การค้นพบไฟฟ้าสถิตนั้นมีมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ แต่จุดเริ่มของทฤษฎีทางไฟฟ้ายุคใหม่ นั้นนับเริ่มต้นจากผลงานของ เบนจามิน แฟรงกลิน ในการทดลองชักว่าวผ่านเมฆฝน ในปี ค.ศ. 1752 เพื่อเก็บประจุไฟฟ้าจากเมฆฝน และใช้ในการพิสูจน์ว่าฟ้าผ่านั้นเป็นกระแสไฟฟ้า เบนจามิน แฟรงกลิน (หรืออาจเป็น Ebenezer Kinnersley) นั้นได้สร้างแนวความคิดของประจุบวก และ ประจุลบ
งานของเบนจามิน แฟรงกลินนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบที่สำคัญทางไฟฟ้าในยุคถัดมา ทั้ง
ลุยจี กัลวานี (Luigi Galvani), อาเลสซันโดร วอลตา (Alessandro Volta), อองเดร-มารี อองแปร์ (André-Marie Ampère), เกออร์ก ซีโมน โอห์ม (Georg Simon Ohm) และ ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday)

เจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์
โดยในปี ค.ศ. 1792 นั้น กัลวานี ได้ค้นพบกระแสไฟฟ้าในสิ่งมีชีวิต ซึ่งงานนี้ได้ทำให้วอลตานั้นสามารถประดิษฐ์ โวลตาอิกไพล์ (voltaic pile) ซึ่งเป็นต้นแบบของแบตเตอรีไฟฟ้า ได้ในปี ค.ศ. 1800 ต่อมาในปี ค.ศ. 1820 จากการสังเกตพบความสัมพันธ์ของไฟฟ้าและแม่เหล็ก ของ ฮันส์ คริสเทียน ออร์สเตด (Hans Christian Ørsted) ในการทดลองที่กระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านขดลวดสามารถเบนเข็มแม่เหล็กของเข็มทิศได้นั้น อองแปร์ได้ทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์นี้และสร้างเป็น กฎของแอมแปร์ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้านั้นถูกค้นพบโดยโอห์มในปี ค.ศ. 1827 เรียกกฎของโอห์ม หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1831 ฟาราเดย์ได้ค้นพบความสัมพันธ์การเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กและการกำเนิดกระแสไฟฟ้าในขดลวด ซึ่งรู้จักกันในนาม กฎของฟาราเดย์ ในปี ค.ศ. 1864 เจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell) ได้รวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างสนามแม่เหล็กและไฟฟ้า ในรูปชุดของสมการทางคณิตศาสตร์ เรียกสมการของแมกซ์เวลล์ ซึ่งเป็นหัวใจของทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic หรือ electrodynamic) ในปัจจุบัน

ทอมัส เอดิสัน

นีโกลา เทสลา
ทั้ง ทอมัส เอดิสัน และ นีโกลา เทสลา นั้นนับได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในวิวัฒนาการของระบบไฟฟ้า เนื่องจากเป็นผู้ที่ริเริ่มการผลิตกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์

ไฮน์ริค เฮิรตซ์
โดยเอดิสันนั้นได้พัฒนาระบบผลิตและจ่ายไฟฟ้า ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสตรงในปี ค.ศ. 1880 ซึ่งต่อมา เทสลาได้พัฒนาระบบผลิตและจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับแบบหลายเฟส ขึ้นในปี ค.ศ. 1888 นอกจากนี้แล้วทั้งสองคนนี้ยังได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญอีกมากมาย
ไฮน์ริค เฮิรตซ์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมการของแมกซ์เวลล์ให้สมบูรณ์ และเป็นบุคคลแรกที่ได้ทำการทดลองแสดงให้เห็นถึงการแผ่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยได้สร้างเครื่องกำเนิดสัญญาณวิทยุ ซึ่งผลงานของเฮิรตซ์นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

เหตุการณ์ในวันี้

วันนี้เป็นวันที่ฉันมีความสุขกึ่งทุกข์นิดหน่อยแต่ยังไงฉันก็มีความสุขตั้งแต่เช้าแล้วเพราะว่าวันนี้ฉันบ้าถ่ายรูปมากผลออกมาก็น่ารักเหมือนเคยมีคนบอกว่าฉันกับมิ้ลเหมือนพี่น้องกัน ว่าไหมคะ ฮิๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

เหตุการณ์วันที่22 กันยายน 2552


สิ่งที่เรียนวันนี้

ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่

1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย
2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด
2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่

1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้
2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้
3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่
4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้
ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ความรู้เรื่องการปลูกพืช

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการผลิตพืช



1.ความหมาย ความสำคัญของการผลิตพืช



1.1 ความหมายการผลิตพืช



การผลิตพืช หมายถึง การปลูกพืชการเพิ่มปริมาณของพืชให้ทวีจำนวนมากขึ้นหรือเจริญเติบโตให้ผลผลิต เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายของผู้ปลูกหรือผู้ผลิต
1.2ความสำคัญของการผลิตพืชที่มีผลต่อเศรษฐกิจ
1.เป็นแหล่งกำเนิดปัจจัย 4
2.ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
3.สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
2.การจำแนกประเภท
1.พืชสวน
2.พืชไร่
3.ป่าไม้

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

เหตุการณ์วันที่ 8 กันยายน 2552

วันนี้มีความสุขมากในช่วงพักกลางวันเราได้แชทกับคนที่เป็นศาสนาเดียวกัน มันมีความสุขมากๆนานๆทีจะเจอเพื่อนที่เป็นศาสนาเดียวกัน วันนี้มีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นกับห้อง ม.3 มันเป็นอะไรที่สนุกมากๆเลย